บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย         ความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์
   จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 ชื่อผู้วิจัย           นางสาวธัญญารัตน์     มั่งทรัพย์          เลขที่ 10
                      นางสาวพรรษพร       น้ำพลอยเทศ     เลขที่ 15
                      นางสาวศิริญญา        มะลิอ่อง          เลขที่ 22
                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8      โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี
อาจารย์ที่ปรึกษา   กฤติยา เหมรี

ปีการศึกษา          2556

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งคณะผู้วิจัยการวิจัยจะสำรวจในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 15 คน

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนแรกเป็นการสอบถามข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่สองเป็นการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปว่าพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.33 รองมาเพศหญิง  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  46.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  53.33  รองมารายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000  บาทขึ้นไป  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  33.33 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ73.33 รองมาอาชีพรับจ้าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อาชีพ  รับข้าราชการ  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  6.67 อาชีพค้าขาย  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 60 รองมาวุฒิการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อื่นๆ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 30-40 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 รองมาอายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33  อายุ 20-30 ปี  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อายุ 40-50 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  20  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น