บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย

          วิธีการดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม   อำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์”  คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
          1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
          4. การวิเคราะห์ข้อมูล
          5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนาซึ่งคณะวิจัย จะสำรวจในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง  15 คน

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่เพศอายุวุฒิการศึกษาอาชีพ รายได้ต่อเดือนเป็นคำถามแบบปิด (Close ended question) มีจำนวน 5 ข้อดังนี้
1. เพศเป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทนามบัญญัติ (Norminal Scale)
2. อายุเป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
3. วุฒิการศึกษาเป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
                    4. อาชีพ เป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทนามบัญญัติ (Norminal Scale)
5. รายได้ต่อเดือนเป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
ส่วนที่ 2 ความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นคำถามแบบปิด(Close ended question) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มีจำนวน 10 ข้อ ดังนี้
                   1.ท่านมีความต้องการที่จะให้รัฐบาลจ่ายเงินเร็วขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว
                   2.ท่านคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวดีขึ้น
                   3.ท่านคิดว่าวัชพืชในนาข้าวส่งผลกระทบต่อราคาข้าว เช่น เพลี้ย เชื้อรา ฯลฯ
                   4. ผลกำไรที่ได้จากการรับจำนำข้าวเพียงพอต่อต้นทุนที่ลงทุน
                   5. ท่านมีความต้องการที่จะขายข้าวให้กับโครงการรับจำนำข้าว
                   6. ปริมาณข้าวเปลือกที่รัฐบาลกำหนดในการรับจำนำข้าว
                   7. ท่านคิดว่าความชื้นในข้าวส่งผลต่อราคาข้าวมากน้อยเพียงใด
                   8. ท่านคิดว่ารัฐบาล  ควรมีการตรวจสอบสิทธิของชาวนา แต่ละบุคคลเพื่อความเท่าเทียม
                   9. ท่านมีความต้องการให้รัฐบาลจัดหาพื้นที่เก็บข้าวให้เพียงพอ
                   10. ท่านคิดว่าเงินสนับสนุนของรัฐบาลสามารถรองรับจำนวนข้าวของเกษตรกรได้เพียงพอ
          โดยมีเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ 3 ระดับดังนี้        
                   3 หมายถึง มาก
                   2 หมายถึง ปานกลาง
                   1 หมายถึง น้อย
          ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว
          3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
          การทำการวิจัยครั้งนี้ทำทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ ให้คณะผู้ทำการวิจัยทั้ง 3 คนได้ทำการลงพื้นที่ที่ทำการเก็บข้อมูลให้เข้าใจถึงแนวคิดความต้องการของประชาชน และวิธีการเก็บข้อมูล  จากนั้นลงพื้นที่โดยประสานงานกับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดพระสุพรรณบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล 30 วัน ระหว่าง วันที่7ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2557หลังจากนั้นจะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

          3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
          3.3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
เป็นการศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 7ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2557 มีวิธีการเก็บรวบรวมดังนี้
1. เตรียมแบบสอบถาม
2. ตรียมความพร้อมให้ผู้สอบถามและผู้สัมภาษณ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบสอบถาม
                   3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม
          3.3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ
          แบบสอบถามที่ดำเนินการเก็บข้อมูลแล้วเสร็จ จำนวน15ชุดได้ครบตามจำนวนที่กำหนด   เมื่อตรวจสอบความสมบูรณ์มีความสมบูรณ์ครบทั้ง 15 ชุดจากนั้นผู้วิจัยได้นำมากำหนดรหัสข้อมูล และบันทึกข้อมูล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีสถิติที่สำคัญดังนี้
          3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
          3.4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เป็นแบบสอบถามมาทำการตรวจสอบข้อมูล  และลงรหัสแล้วนำมาบันทึกและประมวลผลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ผลสำเร็จรูป
เกณฑ์ในการพิจารณาค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็น กำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ดังนี้
                   ค่าเฉลี่ย  2.51-3.50 หมายถึง มาก
                   ค่าเฉลี่ย  1.51-2.50 หมายถึง ปานกลาง
                   ค่าเฉลี่ย  1.00-1.50 หมายถึง น้อย
          3.4.2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ยข้อมูลความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อที่มีต่อโครงการ รับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                           ค่าเฉลี่ยร้อยละ  ()
สูตร 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น