บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความเป็นมาของโครงการรับจำนำข้าว เพื่อศึกษาสภาพปัญหา
และสาเหตุของการเข้าโครงการรับจำนำข้าว
เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์
จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
และเพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์
จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนทั้งหมด 523 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน 10 ข้อแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการสอบถามข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนที่สองเป็นการสอบถามความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งผลของการวิเคราะห์ได้ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 2.4 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.837 โดยสรุปได้ว่าความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ในระดับมาก
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามจำนวน 15 ฉบับแก่กลุ่มตัวอย่างที่เลือกไว้ โดยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้น เมื่อได้รับแบบสอบถามคืนมา คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่กำหนดคำตอบให้เลือกตอบได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
1. สรุปผลการวิจัย
จากการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้สรุปผลได้ดังนี้
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์
จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.33 เพศหญิง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.33 รายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.33 อาชีพรับจ้าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อาชีพรับข้าราชการ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 อาชีพค้าขาย คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 60 วุฒิการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อื่นๆคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 30-40 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 อายุ 50 ปีขึ้นไปคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 อายุ 20-30 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อายุ 40-50 ปีคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 20
1.2ผลการวิเคราะห์ระดับความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
1.3 ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ
จากการสำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้
ที่ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
รัฐเน้นหาตลาดขายข้าวต่างประเทศมากขึ้นและมีการขยายตลาดการขายข้าวให้มาก
ขึ้น
เปิดให้เอกชนเป็นคนขยายข้าวเองโดยตรงกับต่างประเทศและรับซื้อของจากเกษตรกร
โดยมีเงื่อนไขของรัฐบาลเป็นผู้ค้ำ
ความโปร่งใสทุกหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความเกี่ยวข้องและรวมทั้งเกษตรกรให้
ถูกต้องตามระบบจึงจะดีอยู่กันได้ดี
รัฐบาลมีการตรวจสอบการขายข้าวในโรงสีต่างๆ ให้ละเอียดมากกว่านี้
ต้องการให้รัฐบาลตรวจสอบการทุจริตของชาวนาด้วยกันเองควรส่งออกข้าวไปยังต่าง
ประเทศให้มากกว่านี้และงบประมาณควรที่จะพร้อมที่จะจ่ายชาวนา (ค่าข้าว)
2. อภิปรายผล
จากผลการวิจัยที่สรุปได้ข้างต้น สามารถอภิปรายได้ดังนี้
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ53.33 เพศหญิง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาทคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.33 รายได้ต่อเดือน10,001 - 20,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ73.33 อาชีพรับจ้าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อาชีพรับข้าราชการคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 อาชีพค้าขาย คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 60 วุฒิการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อื่นๆคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 30-40 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 อายุ 50 ปีขึ้นไปคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ33.33 อายุ 20-30 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อายุ 40-50 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 20
ผลการวิเคราะห์ระดับความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ข้อมูลได้ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.4 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.837 จึงสรุปได้ว่าความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความต้องการอยู่ในระดับมาก
3. ข้อเสนอแนะ
3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
3.1.1 ความโปร่งใสทุกหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความเกี่ยวข้องและรวมทั้งเกษตรกรให้ถูกต้องตามระบบ
3.1.2 รัฐเน้นหาตลาดขายข้าวต่างประเทศมากขึ้นและมีการขยายตลาดการขายข้าวให้มากขึ้น
3.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
การวิจัยในครั้งต่อไปควรจะเจาะในเรื่องของการตลาดมากขึ้น ให้ศึกษาในส่วนของการส่งออกข้าวไปยังประเทศต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น