วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์) และเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ) ทั้งนี้การวิจัยเชิงเอกสารได้นำเสนอแล้วในบทที่ 2 สำหรับในบทที่ 4 นอกเหนือจากจะนำเสนอผลการวิจัยเชิงสำรวจแล้วยังเป็นการนำเสนอสรุปผลการวิเคราะห์ สำหรับใช้เป็นประโยชน์แนวทางในการสรุปผล ซึ่งผลการนำเสนอสามารถสรุปแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1 ผลการศึกษาวิจัยเชิงการสำรวจ (Survey Research)
          การศึกษาวิจัยในส่วนนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยใช้ วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ซึ่งเป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีวัตถุประสงค์ (Purposive Random Sampling) ผลการศึกษาวิจัยพบมีประเด็นและสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตารางที่  1 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป
จำนวน
ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง

8
7

53.33
46.67
รวม
15
100
2. อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี
20 -30 ปี
30 - 40 ปี
40 -50 ปี
50 ปีขึ้นไป

-
2
5
3
5

0
13.33
33.33
20
33.33
รวม
15
100


ข้อมูลทั่วไป
จำนวน
ร้อยละ
3. อาชีพ
    ทำนา
    รับจ้าง
    รับข้าราชการ
    ค้าขาย

11
2
1
1

73.33
13.33
6.67
6.67
รวม
15
100
4. วุฒิการศึกษา
    ต่ำกว่าปริญญาตรี
    ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
อื่นๆ

9
2
-
4

60
13.33
0
26.67
รวม
15
100
5. รายได้ต่อเดือนเฉพาะของท่าน
    ไม่มีรายได้
    ต่ำกว่า 5,000 บาท
    5,000 - 10,000 บาท
    10,001 - 20,000 บาท
    สูงกว่า 20,000  บาทขึ้นไป

-
5
8
1
1

0
33.33
53.33
6.67
6.67
รวม
15
100























จากตารางที่  1 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในชุมชนบ้านท่ากุ่ม จังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้
เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 8 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ53.33 เพศหญิง จำนวน 7 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.67
อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 30-40 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ33.33จำนวน 5 คน อายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33 อายุ 20-30 ปี จำนวน 2 คนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อายุ 40-50 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 20 
                  อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาจำนวน 11 คนคิดเป็นค่าเฉลี่ย   ร้อยละ 73.33 อาชีพรับจ้างจำนวน 2 คนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.33 อาชีพรับข้าราชการจำนวน 1 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 อาชีพค้าขาย จำนวน 1 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 
                   วุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน  9 คน  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 60 วุฒิการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 2คนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ13.33 อื่นๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.67
                   รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท  จำนวน 8 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.33 รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.67 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000บาท จำนวน 5 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.33


1.2  ความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ตารางที่  2 ความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                                                                                                           


แผนภูมิที่ 1 ค่าเฉลี่ยร้อยละของความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                                                                            
    
      จากแผนภูมิที่ 1 พบว่าค่าเฉลี่ยความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีดังนี้ ท่านมีความต้องการที่จะให้รัฐบาลจ่ายเงินเร็วขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว มีค่าเฉลี่ยความต้องการมากที่สุด เท่ากับ 3 ท่านคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวดีขึ้นมีค่าเฉลี่ย 2.53 ท่านคิดว่าวัชพืชในนาข้าวส่งผลกระทบต่อราคาข้าว เช่น เพลี้ย เชื้อรา ฯลฯ มีค่าเฉลี่ย 2.2 ผลกำไรที่ได้จากการรับจำนำข้าวเพียงพอต่อต้นทุนที่ลงทุนมีค่าเฉลี่ย 2.06 ท่านมีความต้องการที่จะขายข้าวให้กับโครงการรับจำนำข้าวมีค่าเฉลี่ย 2.8ปริมาณข้าวเปลือกที่รัฐบาลกำหนดในการรับจำนำข้าวมีค่าเฉลี่ย 2 ท่านคิดว่าความชื้นในข้าวส่งผลต่อราคาข้าวมากน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย 2.2 ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีการตรวจสอบสิทธิของชาวนาแต่ละบุคคลเพื่อความเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ย 2.93 ท่านมีความต้องการให้รัฐบาลจัดหาพื้นที่เก็บข้าวให้เพียงพอมีค่าเฉลี่ย 2.73 ท่านคิดว่าเงินสนับสนุนของรัฐบาลสามารถรองรับจำนวนข้าวของเกษตรกรได้เพียงพอมีค่าเฉลี่ย 1.46

แผนภูมิที่ 2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ของความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

       
        จากแผนภูมิที่ 1 พบว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีดังนี้ท่านมีความต้องการที่จะให้รัฐบาลจ่ายเงินเร็วขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความต้องการ เท่ากับ 0.8 ท่านคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวดีขึ้นมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.831 ท่านคิดว่าวัชพืชในนาข้าวส่งผลกระทบต่อราคาข้าว เช่น เพลี้ย เชื้อรา ฯลฯ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83ผลกำไรที่ได้จากการรับจำนำข้าวเพียงพอต่อต้นทุน    ที่ลงทุนมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ท่านมีความต้องการที่จะขายข้าวให้กับโครงการรับจำนำข้าวมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.813 ปริมาณข้าวเปลือกที่รัฐบาลกำหนดในการรับจำนำข้าวมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.867 ท่านคิดว่าความชื้นในข้าวส่งผลต่อราคาข้าวมากน้อยเพียงใดมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0853 ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีการตรวจสอบสิทธิของชาวนาแต่ละบุคคลเพื่อความเท่าเทียมมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.804 ท่านมีความต้องการให้รัฐบาลจัดหาพื้นที่เก็บข้าวให้เพียงพอมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.818 ท่านคิดว่าเงินสนับสนุนของรัฐบาลสามารถรองรับจำนวนข้าวของเกษตรกรได้เพียงพอ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด 0.902



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น