บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัญหาเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันความยากจนมีแนวโน้มดีขึ้นในปัจจุบัน โดยสัดส่วนคนจนลดลง คนจนส่วนใหญ่อาศัยในชนบทประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร และหัวหน้าครัวเรือน มีการศึกษาชั้นประถมหรือไม่มีการศึกษา แต่ความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างกลุ่มต่างๆของชั้นรายได้มากขึ้น นอกเหนือจากความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ระหว่างบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่กระจายระหว่างภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ปัญหาราคา ผลผลิต การเกษตร เกษตรกรพบปัญหาปัญหาพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เมล็ดพันธุ์ข้าวงอกไม่สม่ำเสมอ ในนามีน้ำมากหรือน้อยเกินไป รวงข้าวจะสั้น การติดเมล็ดข้าวจะน้อย ต้นข้าวจะเล็ก ข้าวจะแตกกอน้อย ข้าวงอกไม่สม่ำเสมอ ข้าวสุกแก่ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งแปลงจำนวนต้นต่อพื้นที่น้อยทำให้เป็นที่สะสมโรคและแมลงในลำต้นข้าวทำให้ชาวเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้นถ้าความชื้นในแปลงสูงขณะที่ข้าวสามารถเก็บเกี่ยวได้ทำให้ราคาข้าวต่ำ
ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำและเกษตรกรจังหวัดต่างๆ เนื่องจากเกษตรกรจำหน่ายข้าวเปลือกให้แก่โรงสีโดยขึ้นอยู่กับชนิดของข้าว คุณภาพความต้องการของตลาด ดินฟ้าอากาศ ปัญหาภัยธรรมชาติต่างๆ ราคาข้าวมีความผันผวนไม่แน่นอนทำให้ชาวเกษตรไม่สามารถกำหนดอนาคตของตัวเองได้ รายรับไม่แน่นอน ไม่พอกับภาระการกู้หนี้ยืมสิน
โครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยกำหนด แนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ การชดเชยประกันรายได้ โครงการ รับจำนำข้าวเปลือกทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นพร้อมทั้งเป็น การยกระดับรายได้และ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวนา และสร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพของเกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่ได้จำหน่ายข้าวในช่วงที่เกณฑ์กลางอ้างอิงมีราคาสูงไม่สอดคล้องกับราคาที่เกษตรกรขายได้ เกษตรกรได้รับสิทธิในการได้รับชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับเกณฑ์กลางอ้างอิงในอัตรา ที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยจะเร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
ทางคณะผู้วิจัยได้ทำวิจัยเรื่องศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เพื่อศึกษาความเป็นมาของโครงการรับจำนำข้าวสภาพปัญหาและสาเหตุของโครงการรับจำข้าวขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวเกษตรกร
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อศึกษาความเป็นมาของโครงการรับจำนำข้าว
1.2.2 เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และสาเหตุของการเข้าโครงการรับจำนำข้าว
1.2.3เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
1.3 สมมุติฐานของการวิจัย
1.3.1 ถ้าข้าวมีราคาสูงก็จะไม่ก่อโครงการรับจำนำข้าว
1.3.2 ถ้าชาวนาขายข้าวให้กับผู้ค้าคนกลางแล้วได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าก็จะไม่นำข้าวมาเข้าโครงการ
1.3.3 ถ้าชาวนาต้องการในราคาข้าวจะมีโครงการรับจำนำข้าวและประชาชนหันมาทำนากันมากขึ้น
1.4 ตัวแปร สมมติฐาน
แปรต้น : ศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
แปรตาม : ศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชนบ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
แปรควบคุม : บ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
1.5 ขอบเขตการวิจัย
สถานที่ : บ้านท่ากุ่ม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ระยะเวลา : ใช้เวลาในการสืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูล 30 วัน ระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2556
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1 ทำให้รู้ความเป็นมาของโครงการรับจำนำข้าว
2. ทำให้รู้ถึงสภาพปัญหาราคาข้าวเปลือก
3. ทำให้รู้ถึงสาเหตุของการเข้าโครงการรับจำนำข้าว
4. ทำให้มีแหล่งในการศึกษาค้นคว้าและทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำข้าว
1.7 นิยามคำศัพท์เฉพาะ
ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอตามลำดับดังต่อไปนี้
1. การรับจำนำข้าว
2. ความต้องการ
3. ชาวนา
1.7.1 การรับจำนำข้าว หมายถึง Buffer stock (มูลภัณฑ์กันชน)ดังกล่าวคือ วิธีการ"รับจำนำสินค้าเกษตร" ซึ่งเป็นวิธีการแทรกแซงกลไกตลาด วยวิธีการรับจำนำสินค้าเกษตรดังเช่น าข้าวเปลือกในตลาดมีมากเกินไป (อุปทาน:Supply มาก) รัฐก็จะเปิดรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่กำหนด (ซึ่งส่วนมากจะต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้น) ในปริมาณของข้าวจำนวนหนึ่ง (มิใช่ทั้งหมดของปริมาณข้าวในตลาด) เพื่อมิให้ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ต่ำ และชาวนาก็จะได้รับเงินจากรัฐไปจำนวนหนึ่งเพื่อใช้หนุนเวียน เมื่อรัฐรับจำนำข้าวออกจากตลาดปริมาณหนึ่งแล้ว ทำให้ปริมาณข้าวที่อยู่ในตลาดมีน้อยลง จึงทำให้ความต้องซื้อ (อุปสงค์:Demand) มีมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าข้าวสูงขึ้นตามกลไกตลาด และเมื่อได้ราคาในระดับที่น่าพอใจของเกษตรกร เกษตรกรก็จะไถ่ถอนไปแล้วนำข้าวไปขาย (ทางปฏิบัติแค่นำไปประทวนที่จำนำไว้ไปขายแล้ว เกษตรกรรับส่วนต่างราคาไป) แต่หากว่าปริมาณข้าวในตลาดน้อยลงมาก แต่ความต้องการซื้อสูงทำให้ราคาข้าวเกินเหตุ รัฐก็จะนำข้าวที่รับจำนำไว้มาระบายออกสู่ตลาดเพื่อเพิ่มอุปทาน (supply) ทำให้ประชาชนไม่เดือนร้อนจากราคาข้าวที่สูงเกินไป การรับจำนำสินค้าเกษตร หรือ มูลภัณฑ์กันชนนี้ จึงเป็นวิธีการแทรกแซงกลไกตลาด คือ แทรกแซง Supply และ Demand ให้สมดุลนั้นหัวใจสำคัญของการรับจำนำสินค้าเกษตรคือ การกำหนดราคารับจำนำ และปริมาณที่จะรับจำนำ เพราะ ถ้ากำหนดราคาต่ำเกินไป เกษตรก็จะไม่นำสินค้าเกษตรมาจำนำ ถ้ากำหนดสูงเกินไป เกษตรกรก็จะนำสินค้าเกษตรมาจำนำกันทุกราย และการกำหนดปริมาณที่จะรับจำนำ ถ้ากำหนดปริมาณน้อยเกินไปก็จะทำให้ปริมาณสินค้าในตลาดมีมากไปก็ไม่เป็นการแทรกแซง อุปสงค์ (ทำให้สินค้าเกษตร ยังตกต่ำเช่นเดิม) แต่หากกำหนดปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้มีสินค้าเกษตรอยู่ในตลาดน้อยเกินไป ทำให้สินค้าเกษตรสูงเกินไป ดังนั้น การกำหนด"ราคา"รับจำนำ และการกำหนด "ปริมาณ" รับจำนำ จึงต้องมีการวิเคราะห์ภาวะตลาดในขณะนั้น และในอนาคตซึ่งจะต้องใช้ผู้เชียวชาญทางเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบคณะกรรมการเป็นผู้กำหนดBuffer stock (มูลภัณฑ์กันชน)กับนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกฤดู 2554/55 และ 2555/56 การที่รัฐบาลมีนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกในฤดู 2554/55 และฤดู 2555/56 โดยรับจำนำข้าวทุกเม็ดในราคา 15,000 บาท (ข้าวขาว) และ 20,000 บาท(ข้าวหอมมะลิ) ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการนโยบายข้าว กระทรวงพาณิชย์ และองค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร การดำเนินการดังกล่าว มิใช่เป็นการBuffer stock (มูลภัณฑ์กันชน) แต่อย่างใด แม้ว่าจะใช้คำว่า "รับจำนำ" แต่วิธีการคือ การกำหนดราคา และปริมาณ รวมทั้งผลของการดำเนินงาน นั้นโดยเนื้อหาสาระของการวิธีการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติมิใช่เป็นการรับจำนำ เพราะ
1. การรับจำนำข้าวทุกเม็ด คือ การรับจำนำข้าวทั้งหมดในตลาด จึงให้องค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตร เป็นผู้ครอบครองข้าวทั้งหมดในตลาด
2. การกำหนดราคาสูงกว่าราคาตลาดร้อยละ 50 จึงทำให้เกษตรกร ไม่นำข้าวไปขายในท้องตลาด แต่นำมาจำนำกับรัฐทั้งหมด
3. เมื่อพ้นกำหนดการไถ่ถอน ไม่มีเกษตรกรสักรายเดียวมาไถ่ถอน เพื่อนำไปขาย ในท้องตลาด ผลคือ รัฐเป็น"ซื้อ"ข้าวจากชาวนาโดยตรงทั้งหมด ละเอกชนไม่มีสิทธิที่จะซื้อข้าวจากชาวนาได้และเมื่อรัฐจะระบายข้าวสารออกจากคลังสินค้าก็เป็นกรณีที่รัฐเป็นผู้ขายข้าวสาร รัฐจึงเป็น"ขายแต่ผู้เดียว"จึงสรุปได้ชัดเจนว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่อง รัฐ "ซื้อ" ข้าวจากชาวนา และรัฐนำไปขายเอง มิใช่เป็นเรื่อง "รับจำนำ" ข้าว การกระทำดังกล่าวจึงถือว่ารัฐเป็น"ผู้ประกอบการ "ตามมาตรา 84 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งข้าวมิใช่เป็นสินค้าสาธารณะ (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา รถราง)ที่รัฐจะเป็นผู้ประกอบการได้เอง การที่รัฐเข้ามาเป็นผู้ประกอบการ"ซื้อ"ข้าวเปลือกทั้งหมดจากเกษตรกร จึงถือเป็นการประกอบการแข่งขันกับเอกชนอันเป็นการต้องห้ามมิให้รัฐประกอบการค้าแข่งขันกับเอกชน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (1) มิใช่ เป็นกรณีที่รัฐช่วยเหลือเกษตรกรคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด ตามมาตรา 84(8) แต่อย่างใด
1.7.2 ความต้องการ หมายถึง ความต้องการหรือการทำความเข้าใจในความต้องการทั้ง 8 ด้านที่มีในตัวของมนุษย์ช่วยให้เราสามารสร้างการสื่อสารหรือบทสนทนาได้อย่างเหมาะสมความต้องการที่มีในตัวมนุษย์ มีดังนี้
1. ความต้องการทางด้านกายภาพ (Physical) หมายถึง ความต้องการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางกายภาพและการป้องกันการคุกคาม รวมถึงการป้องกันต่อการรุกรานต่อชีวิตและทรัพย์สิน และการปกป้องจากสภาวะแวดล้อมต่างๆของลม ฟ้า อากาศ ร้อน หนาว เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องความต้องการเหล่านี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอันตราย เจ็บป่วย หรือล้มตาย
2. ความต้องการทางด้านสรีรศาสตร์ (Hysiological)หมายถึง ร่างกายของมนุษย์ต้องการสารอาหารต่างๆที่เหมาะสมและเพียงพอเกิดบาดเจ็บขึ้นร่างกายต้องการการซ่อมแซม ซึ่งโดยปกติร่างกายของมนุษย์มีความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เป็นอย่างดี (โดยเฉพาะในช่วงวัยหนุ่มสาว)นอกเหนือความต้องการสารอาหารที่พอเพียง ยังมีความต้องการด้านการรักษาพยาบาลทางการแพทย์เมือมีความจำเป็นอีกด้วยถ้าไม่ได้รับการตอบสนองต่อควาต้องการเหล่านี้คนที่มีร่างกายที่แข็งแรงจะทำงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานและคนอ่อนแออาจจะล้มป่วยหรือเสียชีวิตได้
3. ความต้องการทางด้านจิตใจ (Psychological) หมายถึง จิตใจเป็นสิ่งที่ต้องการการปกป้อง และต้องการสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและให้ความรู้สึกปลอดภัย จิตใจก็เหมือนกับ ร่างกายที่อาจจะถูกคุกคามจากการโจมตีทางกายภาพ จากวัตถุสิ่งของต่างๆ หรืออาจจะถูกโจมตีทางด้านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งการคุกคามทั้งสองด้านนำไปสู่การแตกสลายของจิตใจของมนุษย์ได้ เพื่อป้องกันจิตใจของมนุษย์จึงต้องสร้างเครื่องป้องกันทั้งทางด้านวัตถุหรือกายภาพและเครื่องป้องกันทางด้านจิตวิทยาหรืออารมณ์ความรู้สึก
4. ความต้องการทางด้านสังคม (Social) หมายถึง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและ ได้เรียนรู้ และพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มมาหลายพันปี การอยู่ร่วมกันช่วยในการอยู่รอดของมนุษยชาติได้ดีกว่า ดังนั้นเราจึงมีการสร้างความต้องการในการอยากอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและความต้องการในการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นซึ่งเริ่มต้นจากภายในครอบครัวและแผ่กระจายไปทั่งสังคม ถ้าความต้องการทางด้านสังคมไม่ได้รับการตอบสนองจะทำให้เรารู้สึกถูกทอดทิ้งหรือรู้สึกโดดเดี่ยว และนี้เป็นพลังในการบังคับคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีระเบียบ
5. ความต้องการทางด้านอารมณ์ (Emotional) หมายถึง มนุษย์ก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่อารมณ์มีส่วนสำคัญในการผลักด้นให้เกิดการกระทำเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่ชอบและสิ่งที่ชอบอารมณ์ของเรากำหนดให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ชอบหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดและแสวงหาหรือทดลองสิ่งที่ชอบหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินอารมณ์ของการชอบหรือไม่ชอบ เป็นแรงในการผลักดันชีวิตของเราหรือเป็นตัวกำหนดทิศทางในการ "มุ่งไปหา"หรือ "หลีกออกห่าง" จากสิ่งต่างๆ
6. ความต้องการทางด้านความรอบรู้ (Intellectual) หมายถึง เรามีความต้องการสิ่งหนึ่งที่จะ มีความสามารถในการคิดและในการสร้างจินตนาการ ความรอบรู้และสติปัญญาของเราชักจูงเราให้สนใจในการแสวงหาคำตอบของสิ่งลึกลับหรือแก้ปริศนาต่างๆ มันดูเหมือนว่าการแหวงหาความรู้และสติปัญญาเป็นสิ่งที่ดึงดูดคนมากกว่าสิ่งอื่นๆการแสวงหาความรู้และสติปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการทำให้เกิดแรงจูงใจ
7. ความต้องการทางด้านการศึกษา (Educational) หมายถึง มนุษย์มีความต้องการในการเรียนรู้ ในระดับพื้นฐานจะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อม และหลีกเลี่ยงจากภัยคุกคามต่างๆ และการเรียนรู้ยังช่วยให้เราพัฒนาตัวเราให้มีชีวิตที่ดีขึ้นสมองของเราจะให้รางวัล ในการเรียนด้วยสร้างยากระตุ้นหัวใจ (dipomine)ที่เป็นยาตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น ความอยากรู้ อยากเห็น และความน่าเบื่อหน่าย กำลังกระตุ้นให้อารมณ์ของเราแสวงหาความพึงพอใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆความต้องการให้การศึกษาเป็นตัวป้อนให้เกิดความต้องการในการแสวงหาความรู้และสติปัญญา
8. ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) หมายถึง เป็นสิ่งทีอาจกล่าวได้ว่าเป็นระดับที่ สูงที่สุดของความต้องการของมนุษย์ ที่จะแสวงหาผู้ที่เป็นใหญ่ที่สุดในจักรวาลหรือได้รับการยอมรับจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนยกย่อง ดังนั้นมนุษย์จึงมีการสวดมนต์ อธิษฐาน ภาวนา และแสวงหาความใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพื่อนำตนเองไปสู่นิพพาน
1.7.3 ชาวนา หมายถึง บุคคลผู้ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมในประเทศไทยมักมี ความหมายถึง ผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะ ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยอาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทยที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท การทำงานของชาวนา จะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง รือพืชเศรษฐกิจอื่นๆต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่นๆเสริม เช่น ปลา และ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้นต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อมๆกันในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวกันทั้งประเทศ และปลูกกันมากในภาคกลาง ซึ่งจนถึงกับบางครั้งมีคำกล่าวที่เรียกภาคกลางของประเทศไทยว่า"อู่ข้าวอู่น้ำ"ของเอเชีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น