บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งสำรวจความต้องการของประชาชนชุมชนบ้านท่ากุ่มอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าว/ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียง โดยนำเสนอตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ความหมายความต้องต้องการ
2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
3. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก
4. ข้อดี และข้อเสียของโครงการรับจำนำข้าว
5. สภาพปัญหา และสาเหตุที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว
1. ความหมายความต้องการ
พจนานุกรมในไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2526 หน้า 323) กล่าวถึง ความต้องการ ว่าหมายถึงความอยากได้ใคร่ได้ หรือประสงค์จะได้ และเมื่อเกิดความรู้สึกดังกล่าว จะทำให้ร่างกายเกิดการความสมดุลเนื่องมาจากมีสิ่งเร้ามากระตุ้นมีแรงขับภายในเกิดขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อาจอยู่นิ่งต้องพยายามดิ้นรนและแสวงหาเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ เมื่อร่างกายได้รับตอบสนองแล้วร่างกายมนุษย์ก็กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง และก็จะเกิดความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นมาทดแทนวนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด
Samuelson (อ้างใน กฤษณา ศักดิ์ศรี, 2534 หน้า 159) กล่าวว่ามนุษย์นั้น เพียรพยายาม ทุกวิถีทางในอันที่จะให้บรรลุความต้องการทีละขั้น เมื่อความต้องการขั้นแรก ได้รับการตอบสนองแล้วความต้องขั้นนั้นก็จะลดความสำคัญลงจนหมดความสำคัญไม่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป แต่จะเกิดความสนใจและความต้องการสิ่งใหม่อีกต่อไป แต่ความต้องการขั้นต้นๆที่ได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้วนั้นอาจกลับมาเป็นความจำเป็นหรือความต้องการครั้งใหม่ได้อีก เมื่อการตอบสนองความต้องการครั้งแรกได้สูญเสียหรือขาดหายไป และความต้องการที่เคยมีความสำคัญ จะลดความสำคัญลงเมื่อมีความต้องการใหม่ๆเข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นแล้ว Gilmer กล่าวว่า“ มนุษย์มีความต้องการหลาย สิ่งหลายอย่าง เช่น อาหาร อากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัย รวมทั้งสิ่งอื่นๆด้วย เช่น การยอมรับนับถือ สถานภาพการเป็นเจ้าของ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปความต้องการเหล่านี้ยากที่จะได้รับการตอบสนองจนอิ่มและพอใจทั้งๆ ที่ก็ได้รับอยู่แล้ว ”
Samuelson (อ้างใน เสถียร เหลืองอร่าม, 2525 หน้า 10 - 18 และนิพนธ์ คันธเสวี, 2528 หน้า 71) ทุกวันนี้คนเราพยายามทำงานก็เพื่อจะสนองความต้องการของตน ทำงานเพื่อเงินเพราะเงินเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆตามต้องการแต่ถ้ามองให้ลึกลงไปแล้ว การทำงานไม่ใช่เพื่อเงินแต่อย่างเดียวเสมอไปเศรษฐีมีเงินมหาศาลก็ยังทำงานทั้งๆ ที่ทำงานแล้วได้เงินเป็นค่าตอบแทนเพียงเล็กๆ น้อยๆ การทำงานเพื่อเงินเป็นเพียงเหตุผลประการหนึ่งเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่คนต้องการได้รับจากการทำงานซึ่งบางครั้งเงินไม่สามารถซื้อความต้องการบางอย่างได้เพราะ ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ 3 ประการ
1.ความต้องการทางด้านร่างกาย หรือความต้องการทางสรีระ (Physical or Physiological Needs) หรือ ความต้องการปฐมภูมิ (Primary Needs) หรือความต้องการทางด้าน ชีววิทยา (Biological Needs) หรือความต้องการปฐมภูมิ (Primary) เป็นความต้องการทางชีววิทยา หรือ ความต้องการทางกายภาพเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานอันดับแรกหรือขั้นต่ำสุดของมนุษย์ซึ่งจำเป็นในการ ดำรงชีวิต เป็นความต้องการที่จำเป็นสำหรับชีวิตเป็นความต้องการเพื่อการดำรงชีวิต อยู่ของมนุษย์ เพื่อการมีชีวิตอยู่เป็นความต้องการที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ในฐานะที่เป็นอินทรีย์ทางกายภาพเป็นแรงขับ(Drive)ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นแรงขับดันทางกายภาพเป็นความต้องการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเพื่อความอยู่รอดจึงเป็น ความต้องการพื้นฐานที่จะขาดเสียมิได้ ความต้องการชนิดนี้หากไม่ได้รับการตอบสนองจะมีความรู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลาและมีความกระวนกระวาย เช่น ความต้องการอากาศหายใจ อาหาร ความอบอุ่นน้ำ ยารักษาโรค อุณหภูมิที่เหมาะสม เครื่องนุ่งห่มการเคลื่อนไหวทางร่างกาย การขับถ่าย ความต้องการเรื่องเพศ การพักผ่อนนอนหลับ ที่อยู่อาศัย ถ้าขาดความต้องการประเภทนี้เพียงประการใดประการหนึ่งชีวิตจะต้องมีอันเป็นไปเพราะความต้องการนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับมนุษย์ทุกคน จะขาดเสียมิได้การแสวงหาสิ่งต่างๆมาเพื่อตอบสนองความต้องการในทางกายของมนุษย์นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสังคม วัฒนธรรม การฝึกอบรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาเศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ความต้องการทางด้านจิตใจ หรือความต้องการในระดับสูงหรือความต้องการทางด้านจิตวิทยา หรือความต้องการทุติยภูมิหรือความต้องการที่เกิดใหม่ (Psychological Needs or Secondary Needs or Acquired Needs) เป็นความต้องการที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง หลังจากความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองแล้วบางครั้งจึงเรียกความต้องการทางจิตใจว่า “ความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่”(Acquired Needs) เพราะเป็นความต้องการที่ เกิดจากความรู้ และการเรียนรู้ประสบการณ์ การสนองตอบต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นแรงขับ (Drive) ชนิดหนึ่งที่ไม่หยุดอยู่กับที่ (Dynamic) ไม่มีรากฐานจากความต้องการทางร่างกาย แต่อาศัยกลไก ทางสมองที่สั่งสมจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแต่ละบุคคลอาจเหมือนกันหรือต่างกันได้เนื่องจากแต่ละคนมีระดับความต้องการแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ และประสบการณ์ความต้องการทางจิตใจเป็นความต้องการที่สลับซับซ้อนและมีความแตกต่างกันมากระหว่างบุคคล
3. ความต้องการทางสังคมเป็นความต้องการทางจิตใจนั่นเองแต่เน้นหนักใน ด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้เป็นที่ยอมรับนับถือของคนอื่น หรือมีความเป็นอยู่ดีกว่า บุคคลอื่น เช่น ต้องการความปลอดภัยต้องการได้รับการยกย่องนับถือต้องการความยอมรับในสังคมต้องการความก้าวหน้า เป็นต้น ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความต้องการมากมายหลายอย่างจนไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งทั้งความต้องการที่เกิดจากความคิดคำนึงหรือความต้องการด้านจิตใจ หรือ ความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการที่ขาดมิได้ และในบรรดาความต้องการต่างๆของมนุษย์นั้นยากที่จะได้รับการสนองตอบจนเป็นที่พอใจเพราะเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
Dr. Abraham H. Maslow นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมได้อธิบายเรื่องความต้องการของมนุษย์ว่าเป็นลำดับทั้งหมด 5 ขั้น (Five general system of needs) โดยเขียนเป็นรูปพีระมิดแห่งความต้องการไว้แสดงความต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์ (Basic needs) เป็นทฤษฎี การจูงใจ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้เขียนขึ้นเรียกว่า “Maslow’s General theory of humanmativation” (อ้างใน เสถียร เหลืองอร่าม , 2519 : 325) Maslow กำหนดหลักการว่าบุคคลพยายามสนองความต้องการของตนเพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จของชีวิต Needs หมายถึงความต้องการอันจำเป็นซึ่งชีวิตจะขาดเสียมิได้ ผลจากการศึกษาทราบว่าทุกกริยาท่าทางหรืออาการที่มนุษย์แสดงออกมาเป็นรูปของพฤติกรรมนี้ก็เพราะแรงผลักดัน จากความต้องการเป็นกำลังสำคัญให้แสดงออกมาความต้องการอาจเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ ที่ได้มาภายหลังและจากสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียนรู้เป็นความต้องการทางชีววิทยา(Biological Needs) ทั้งที่เป็นสิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นได้และเป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ทฤษฎีแห่งการจูงใจของ Maslow (อ้างใน กาญจนา เรืองรจิตปกรณ์, 2530 หน้า 227)กล่าวถึงความต้องการ (Need) ของมนุษย์โดยมีสมมุติฐาน กล่าวถึงความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ดังนี้
1. ความต้องการจำเป็นทางร่างกาย (Physiological Needs) สามารถแยกออกเป็นประเภทหนึ่งต่างหาก เป็นเอกเทศจากการจูงใจประเภทอื่นๆได้เพราะเป็นความต้องการพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องการเหมือนกัน
2. ความต้องการจำเป็น (Need) ทางกายเป็นความต้องการหลักของทุกคน
3. ความต้องการ (Needs) อย่างอื่นๆจะอันตรธานไปตราบใดที่ความต้องการมนุษย์ทางกายยังไม่ได้รับการตอบสนองตามความพอใจเพราะยังถูกครอบงำด้วยความจำเป็น ทางสรีระอยู่
3. ความต้องการ (Needs) อย่างอื่นๆจะอันตรธานไปตราบใดที่ความต้องการมนุษย์ทางกายยังไม่ได้รับการตอบสนองตามความพอใจเพราะยังถูกครอบงำด้วยความจำเป็น ทางสรีระอยู่
4. ความต้องการอย่างอื่นที่สูงขึ้นไปจะเริ่มปรากฏเมื่อความต้องการทางร่างกายได้รับการสนองตอบเพียงพอแล้ว ขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอย่างอื่นก็จะเข้ามาแทนที่
5. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองเพียงพอแล้วจะไม่เป็นอุปสรรคต่อความต้องการระดับสูงกว่าความต้องการที่ได้รับตอบสนองแล้วจะไม่เป็นแรงจูงใจสำหรับพฤติกรรมนั้นอีกต่อไปและอินทรีย์นั้นจะถูกครอบงำด้วยความต้องการอื่นที่ยังไม่เพียงพอต่อ ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมมนุษย์
6. บุคคลส่วนใหญ่ในสังคมมนุษย์ต้องการโลกที่มีแต่ความปลอดภัย มีระเบียบแบบแผน และสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้
7. คนที่ทำลายความต้องการทางด้านความรัก และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หมายถึง คนที่ไม่ต้องการความรักและไม่ชอบการเข้าสังคมเป็นการกระทำของบุคคลที่ปรับตัวเองไม่ได้ และเป็นโรคประสาท
8. ทุกๆคนในสังคมย่อมต้องการและปรารถนาที่จะมีความเป็นอยู่อย่างมั่นคง ได้รับการเคารพ นับถือ ยกย่อง สรรเสริญ ประเมินค่าตน และมีความต้องการความแข็งแรง ความสำเร็จ ฉลาดปราดเปรื่อง ต้องมีเกียรติยศ ชื่อเสียง มีฐานะ มีเกียรติภูมิ มีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับ ของสังคม
9. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและความต้องการนี้มีอยู่ตลอดเวลาเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุดเริ่มตั้งแต่เกิดจนกกระทั่งตาย ในขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอย่างอื่นก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่
10. ความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตามลำดับความสำคัญ(A hierarch of needs) จากต่ำไปหาสูง กล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนองทันที
ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมนุษย์ แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ความคิดสำคัญของทฤษฎีนี้ก็คือ ความต้องการส่วนใหญ่ในระดับที่ต่ำกว่า ต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่ความต้องการระดับสูงขึ้นไปจะได้รับการตอบสนอง อย่างไรก็ดีทั้งนี้มิได้หมายความว่า ความต้องการมากกว่าหนึ่งระดับไม่อาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ความต้องการของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของการจูงใจ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการไม่สิ้นสุดตั้งแต่เกิดจนตาย มนุษย์ทุกคนมีความต้องการตลอดเวลาและจะต้องการมากขึ้นเรื่อยไป ความต้องการของมนุษย์จัดเป็นขั้นตอนตามความสำคัญจากต่ำไปสูง ซึ่งเรียกว่าความต้องการมูลฐาน 5 ขั้นมาสโลว์จัดลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้อย่างมีระเบียบ เรียกว่า Hierarchy of human needs เรียงลำดับ จากต่ำไปสูงถ้าความต้องการในขั้นแรกๆยังไม่ได้รับการตอบสนองก็ยังไม่มีความต้องการในขั้นสูง ถัดไป ดังนี้
1. ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ (Basic physiological needs or Biological Needs, Physical Needs) คือความต้องการบำบัดความหิวกระหาย ต้องการพักผ่อน ต้องการเรื่องกามารมณ์ ต้องการบำบัดความเจ็บปวดและความไม่สมดุลทางร่างกายต่างๆ
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs and security) คือ ความต้องการความมั่นคง ต้องการการป้องกันอันตราย ต้องการระเบียบ ต้องการทำนายอนาคต
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs or Social Needs) คือ ต้องการเพื่อน ต้องการผู้ร่วมงาน ต้องการครอบครัว ต้องการเป็น ที่ยอมรับของกลุ่ม ต้องการใกล้ชิดเพศต้องข้าม
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs , Self - Esteem Needs) คือ ต้องการความมั่นคงซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นของคนทั่วไป ต้องการความพอใจ ชมเชย นิยม ต้องการความมั่นใจในตัวเอง ต้องการคุณค่าในตนเอง ต้องการยอมรับตนเอง
5. ต้องการความสมหวังในชีวิต (Self - Actualization Needs , Self-realization, Self-fulfillment Needs) คือ ต้องการไปให้ถึงความสามารถสูงสุดของตัวเอง ต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตน ต้องการทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ต้องการความงอกงามและขยายความต้องการให้ถึงที่สุด ค้นพบความจริง สร้างสรรค์ความงาม ส่งเสริมความยุติธรรม สร้างระเบียบ
ทฤษฎีความต้องการตามแนวความคิดของเมอร์เรย์ (อ้างใน โยธิน ศันสนยุทธ , 2530 หน้า 36) มีความคิดเห็นว่าความต้องการเป็นสิ่งที่บุคคลได้สร้างขึ้นก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งความต้องการนี้บางครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากแรงกระตุ้นภายในของบุคคลและบางครั้งอาจเกิดความต้องการเนื่องจากสภาพสังคมก็ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าความต้องการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสภาพทางร่างกายและสภาพทางจิตใจนั่นเอง ทฤษฎีความต้องการตามหลักการของเมอร์เรย์ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการก้าวร้าว (Need for Aggression) ความต้องการที่จะเอาชนะผู้อื่น เอาชนะต่อสิ่งขัดขวางทั้งปวงด้วยความรุนแรงมีการต่อสู้ การแก้แค้น การทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าฟันกัน เช่นการพูดจากระทบกระแทก กับบุคคลที่ไม่ชอบกัน เป็นต้น
2. ความต้องการที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ(Need for Counteraction) ความต้องการที่จะเอาชนะนี้เป็นความต้องการที่จะฟันฝ่าอุปสรรคความล้มเหลวต่างๆ ด้วยการสร้างความพยายามขึ้นมา เช่น เมื่อได้รับคำดูถูกดูหมิ่น ผู้ได้รับจะเกิดความพากเพียรพยายาม เพื่อเอาชนะคำ สบประมาทจนประสบความสำเร็จ เป็นต้น
3. ความต้องการที่จะยอมแพ้ (Need for Abasement) ความต้องการชนิดนี้เป็นความต้องการที่จะยอมแพ้ ยอมรับผิด ยอมรับคำวิจารณ์หรือยอมรับการถูกลงโทษ เช่น การเผาตัวตายเพื่อประท้วงระบบการปกครอง พันท้ายสิงห์ไม่ยอมรับอภัยโทษ ต้องการจะรับโทษตามกฎเกณฑ์ เป็นต้น
4. ความต้องการที่จะปกป้องตนเอง (Need for Defendant) เป็นความต้องการที่จะป้องกันตนเองจากคำวิพากษ์วิจารณ์ การตำหนิติเตือนซึ่งเป็นการป้องกันทางด้านจิตใจ พยายามหาเหตุผลมาอธิบายการกระทำของตนมีการป้องกันตนเองเพื่อให้พ้นผิดจาก การกระทำต่างๆ เช่น ให้เหตุผลว่าสอบตกเพราะครูสอนไม่ดี ครู อาจารย์ที่ไม่มีวิญญาณครูขี้เกียจอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือประเภทรำไม่ดีโทษปีโทษกลอง
5. ความต้องการเป็นอิสระ (Need for Autonomy) ความต้องการชนิดนี้เป็นความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นอิสระจากสิ่งกดขี่ทั้งปวง ต้องการที่จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นตัวของตัวเอง
6. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement) คือความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆที่ยากลำบากให้ประสบความสำเร็จจากการศึกษาพบว่าเพศชายจะมีระดับ ความต้องการความสำเร็จมากกว่าเพศหญิง
7. ความต้องการสร้างมิตรภาพกับบุคคลอื่น (Need for Affiliation)เป็นความต้องการที่จะทำให้ผู้อื่นรักใคร่ ต้องการรู้จักหรือมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ต้องการเอาอกเอาใจมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนฝูง พยายามสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น
8. ความต้องการความสนุกสนาน (Need for Play) เป็นความต้องต้องการที่จะแสดงความสนุกสนานต้องการหัวเราะเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียดมีการสร้างหรือเล่าเรื่องตลกขบขัน เช่น มีการพักผ่อนหย่อนใจมีส่วนร่วมในเกมกีฬา เป็นต้น
9. ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ( Need for Rejection ) บุคคลมักจะ มีความปรารถนาในการที่จะแยกตนเองออกจากผู้อื่นไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายกับบุคคลอื่น ต้องการเมินเฉยจากผู้อื่นไม่สนใจผู้อื่น
10. ความต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ( Need for Succorance ) ความต้องการประเภทนี้จะเป็นความต้องการให้บุคคลอื่นมีความสนใจเห็นอกเห็นใจ มีความสงสารในตนเอง ต้องการได้รับความช่วยเหลือ การดูแลให้คำแนะนำดูแลจากบุคคลอื่น
11. ความต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลอื่น ( Need for Nurture ) เป็นความต้องการที่จะเข้าร่วมในการทำกิจกรรมในการทำกิจกรรมกับบุคคลอื่นโดยการให้ความช่วยเหลือให้บุคคลอื่นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ
12. ความต้องการที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อื่น ( Need for Exhibition ) เป็นความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นได้เห็นได้ยินเกี่ยวกับเรื่องราวของตนเอง ต้องการให้ผู้อื่น มีความสนใจ สนุกสนานแปลกใจ หรือตกใจในเรื่องราวของตนเอง เช่น เล่าเรื่องตลกขบขันให้บุคคลอื่นฟังเพื่อบุคคลอื่นจะเกิดความประทับใจในตนเอง เป็นต้น
13. ความต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ( Need for Dominance ) เป็นความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นมีการกระทำตามคำสั่งหรือความคิดความต้องการของตน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลเหนือกว่าบุคคลอื่น
14. ความต้องการที่จะยอมรับนับถือผู้อาวุโสกว่า ( Need for Deference ) เป็นความต้องการที่ยอมรับนับถือผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความยินดีรวมทั้งนิยมชมชื่นในบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวด้วยความยินดี
15. ความต้องการหลีกเลี่ยงความล้มเหลว (Need for Avoidance of Inferiority) ความต้องการจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความอับอายทั้งหลายต้องการหลีกเลี่ยง การกระทำต่างๆที่ก่อให้เกิดความละอายใจรู้สึกอับอายล้มเหลว พ่ายแพ้
16. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย ( Need for Avoidance Harm ) ความต้องการนี้เป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทางด้านร่างกายต้องการได้รับความปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
17. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงจากการถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ (Need for Avoidance of Blame) เป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการคล้อยตามกลุ่ม หรือ ยอมนับคำสั่งหรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกลุ่มกฎเกณฑ์เพราะกลัวถูกลงโทษ
18. ความต้องการเป็นระเบียบเรียบร้อย(Need for Orderliness)เป็นความต้องการที่จะจัดสิ่งของต่างๆให้อยู่ในสภาพที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความประณีต งดงาม
19. ความต้องการที่จะรักษาชื่อเสียงเป็นความต้องการที่จะรักษาชื่อเสียงของตน ที่มีอยู่ไว้จนสุดความสามารถ เช่น การไม่ยอมขโมย แม้ว่าตนเองจะหิว หรือไม่ยอมทำความผิด เพื่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เป็นต้น
20. ความต้องการให้ตนเองมีความแตกต่างจากบุคคลอื่น(Need for Contrariness) เป็นความต้องการที่อยากจะเด่น นำสมัย ไม่เหมือนใคร
3. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (กาญจนา เลิศเจริญธรรม, 2550 หน้า 12 - 20)
กรอบแนวทางตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) กรมการค้าภายใน (2550) สร้างกรอบแนวทางตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ไว้ดังนี้
1. มติคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ครั้งที่ 5/2549 วันที่ 26 ตุลาคม 2549 อนุมัติมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2549/50 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ป้องกันการปลอมปนและไม่ให้เกิดการรั่วไหลในการจำนำให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของโครงการดังนี้
1.1 เป้าหมาย ปริมาณรับจำนำรวม 9 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้ ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง และ อคส. รับฝากและออก ใบประทวนโดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
1.2 ราคารับจำนำ ให้กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2549/50 ให้สอดคล้องกับภาวะราคาตลาดในปัจจุบัน เพื่อส่งผลดีต่อกลไกราคาในตลาดและ การส่งออก รวมทั้งประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรในระยะยาว โดยราคารับจำนำ ณ ความชื้น ไม่เกิน 15 % ดังนี้
1.2.1 ข้าวเปลือกหอมมะลิ
ชนิดสีได้ตันข้าว 42 กรัม ตันละ 9,000 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 40 กรัม ตันละ 8,900 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 38 กรัม ตันละ 8,800 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 36 กรัม ตันละ 8,700 บาท
โดยราคารับจำนำใบประทวนข้างต้นให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 50 บาท ส่วนราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิที่ยุ้งฉางเกษตรกรให้กำหนดราคารับจำนำตันละ 10,000 บ
1.2.2 ข้าวเปลือกหอมจังหวัด
ชนิดสีได้ตันข้าว 40 กรัม ตันละ 7,500 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 38 กรัม ตันละ 7,400 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 36 กรัม ตันละ 7,300 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 34 กรัม ตันละ 7,200 บาท
โดยราคารับจำนำใบประทวนข้างต้นให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 40 บาท ส่วนราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิที่ยุ้งฉางเกษตรกรให้กำหนดราคารับจำนำตันละ 7,900 บาท
1.2.3 ข้าวเปลือกเจ้านาปี (พันธุ์ไวแสงและไม่ไวแสง)
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 6,500 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 6,400 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 6,300 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 6,100 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 6,700 บาท
1.2.4 ข้าวเปลือกปทุมธานี
ชนิดสีได้ตันข้าว 42 กรัม ตันละ 7,000 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 40 กรัม ตันละ 6,900 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 38 กรัม ตันละ 6,800 บาท
ชนิดสีได้ตันข้าว 36 กรัม ตันละ 6,700 บาท
1.2.5 ข้าวเปลือกข้าวเหนียว
ข้าวเปลือกข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 7,700 บาท
ข้าวเปลือกข้าวเหนียว 10% ชนิดคละ ตันละ 7,500 บาท
1.3 ระยะเวลาการรับจำนำ 1 พฤศจิกายน 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550 ยกเว้นภาคใต้ รับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม 2550
1.4 ระยะเวลาไถ่ถอด 3 เดือนนับถัดจากเดือนที่ได้รับจำนำกรณีที่รับจำนำใบประทวน และ 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำกรณียุ้งฉาง
1.5 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤศจิกายน 2549 – 31 ตุลาคม 2550
2. คุณสมบัติของผู้ฝากข้าวเปลือก
2.1 กรณีเป็นเกษตรกร
2.1.1 ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ผลิตข้าวเปลือกที่จะเข้าโครงการรับจำนำ
2.1.2 ต้องเป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.
2.1.3 ในกรณีที่ยังไม่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เกษตรกรจะต้องนำหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรไปติดต่อ ธ.ก.ส. เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ก่อน
2.2 กรณีเป็นสถาบันเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร)
2.2.1 ต้องเป็นสถาบันเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมายและเป็นเพียงผู้รวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกของสมาชิกเพื่อนำฝากและจำนำเท่านั้นซึ่งสมาชิกต้องเป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2548/49 จากกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.
2.2.2 สถาบันเกษตรกรตาม ข้อ 2.2.1 ให้ไปติดต่อกับ ธ.ก.ส. สาขาท้องที่เพื่อแจ้งความจำนงว่าจะฝากข้าวเปลือกเพื่อจำนำใบประทวนสินค้ากับ ธ.ก.ส. จะเป็นผู้อนุมัติวงเงินกู้ยืม
2.3 การจำนำข้าวเปลือก
2.3.1 เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรประสงค์จะกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ให้นำใบรับของคลังสินค้า ใบประทวนสินค้า ยื่นแสดงความจำนงขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ออกใบประทวนสินค้า หากไม่ดำเนินการกู้ตามระยะเวลาดังกล่าว เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรจะต้องดำเนินการตามมาตรการที่ ธ.ก.ส. ได้วางไว้
2.3.2 กรณีเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรมาฝากแล้วไม่นำใบประทวนสินค้ารับของคลังสินค้าไปจำนำกับ ธ.ก.ส. เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรผู้ฝากจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ค่าแรงงาน ค่าเก็บรักษา ฯลฯ
3. เอกสารในการฝากข้าวเปลือกที่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรต้องนำมายื่นที่หน่วยรับฝาก
3.1 เกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.
3.1.1 ต้นฉบับหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 (ต้นฉบับหน่วยเก็บ)
3.1.2 สมุดคู่ฝากสมุดบัญชีเงินกู้ ธ.ก.ส. (ตรวจสอบแล้วคืนให้เกษตรกร)
3.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ตรวจสอบและเทียบกับ บัตรประชาชนของเกษตรกรจริง)
3.2 เกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.
3.2.1 ต้นฉบับหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ที่ ธ.ก.ส. รับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า (ต้นฉบับหน่วยเก็บ)
3.2.2สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน(ตรวจสอบและเทียบกับบัตรประชาชนจริง)
3.3 สถาบันเกษตรกร
3.3.1 ต้นฉบับหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของสมาชิกที่สถาบันเกษตรกรรวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกมาฝากเพื่อจำนำ (ต้นฉบับหน่วยเก็บ)
3.3.2 ต้นฉบับหนังสืออนุมัติวงเงินกู้ยืมของ ธ.ก.ส. และสำเนาภาพถ่ายพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเมื่อตรวจสอบแล้ว อคส. จะคืนต้นฉบับให้
3.3.3 บัญชีรายชื่อเกษตรกรที่สถาบันเกษตรกรรวบรวมข้าวเปลือกมาส่งมอบ
3.3.4 สำเนารายงานการประชุมของสถาบันเกษตรกรซึ่งจะระบุถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนสถาบันเกษตรกรในการดำเนินการฝากและจำนำข้าวเปลือก
3.3.5 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ตรวจสอบกับบัตรประชาชนจริง)
4. วงเงินค่าข้าวเปลือกที่จะรับฝาก และรับจำนำ
4.1 เกษตรกร ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
4.2 กลุ่มเกษตรกร ไม่เกินรายละ 20,000,000บาท
4.3 สหกรณ์การเกษตร ไม่เกินรายละ 100,000,000บาท
กรณีที่จะฝากหรือจำนำเกินวงเงินที่กำหนดข้างต้นสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบของ ธ.ก.ส.
หลักเกณฑ์ในการดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2549/50
1. วิธีการดำเนินการ
1.1 เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำจะต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรจากการส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
1.2 พื้นที่รับจำนำ เกษตรกรสามารถจำนำข้าวเปลือกได้ในพื้นที่จังหวัด ของตนเองเท่านั้น ยกเว้นพื้นที่ตำบลติดต่อกัน
1.3 การรับจำนำ
1.3.1 การจำนำยุ้งฉางให้ ธ.ก.ส. รับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง โดนเกษตรกรจะได้รับค่าเช่ายุ้งฉาง ตันละ 20 บาท ต่อเดือน และรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิในราคาตันละ 10,000 บาท และข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 7,900 บาท ทั้งนี้ให้เริ่มรับจำนำตั้งแต่เริ่มโครงการ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
1.3.2 การรับจำนำใบประทวน ให้ อคส. รับฝากและออกใบประทวน และโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับฝากจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในโกดังของโรงสี และ/หรือแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเก็บไว้ในโกดังกลางของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการหรือโกดังกลางของอคส.
1.4 การเข้าร่วมโครงการของโรงสี โรงสีสหกรณ์การเกษตรและโรงสีที่อยู่ในเขตพื้นที่ของแต่ละจังหวัดต้องมีศักยภาพในการรับฝากและแปรสภาพข้าวเปลือก โดยต้องมีเครื่องอบความชื้นหรือลานตาก และมีสถานที่เก็บข้าวอยู่ในบริเวณเดียวกันกับโรงสีรวมทั้งไม่มีภาระค้างส่งมอบข้าวในโครงการที่ผ่านๆมา
1.5 ข้อปฏิบัติของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ
1.5.1 โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจะรับจำนำข้าวเปลือก จากเกษตรกรได้ไม่เกิน 50 เท่า ของกำลังการผลิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และต้องวางหนังสือ ค้ำประกันธนาคาร ร้อยละ 20 ของมูลค่าข้าวเปลือกที่รับจำนำ
1.5.2 โรงสีที่รับจำนำต้องรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรตามการค้าปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณที่รับจำนำ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะโรงสีที่มีการแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และจะต้องแยกกองข้าวเปลือกที่โรงสีรับซื้อกับกองข้าวเปลือกที่รับจำนำออกจากกันให้ชัดเจนด้วย
1.5.3 ห้ามโรงสีรับฝากข้าวเปลือกจากเกษตรกรไว้ก่อนแล้วเจ้าหน้าที่ของ อคส. ออกใบประทวนให้ในภายหลังจากมีการรับฝากข้าวเปลือกไว้ ให้ถือว่าเป็นข้าวของโรงสี มิใช่ข้าวที่รัยจำนำของรัฐบาล
1.5.4 ห้ามโรงสีที่เข้าร่วมโครงการนำข้าวที่ อคส. ฝากเก็บไว้ในสถานที่อื่น นอกจากบริเวณโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ
1.5.5 โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจะต้องแปรข้าวเปลือกที่รับจำนำ และส่งมอบข้าวสารในระยะเวลาที่กำหนด
1.5.6 โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้ในโกดังของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ และดูแลรักษา พร้อมทั้งรับผิดชอบคุณภาพข้าวเปลือกดังกล่าว โดยโรงสีจะได้รับค่าฝากเก็บข้าวเปลือกที่จำนำเมื่อเก็บรักษาเกินกว่า 90 วันในอัตราตันละ 20 บาทต่อเดือน
1.5.7 ห้ามโรงสีนำข้าวสารที่ไม่ได้แปรสภาพจากข้าวเปลือกที่จำนำหรือข้าวสารจากโรงสีอื่นมาส่งมอบเข้าโกดังของ อคส. โดยเด็ดขาด
1.5.8 โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจะต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกข้อมูล และรายงานข้อมูลการรับจำนำข้าวเปลือกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์มายังกรมการค้าภายใน และ อคส. เป็นประจำทุกวัน ในกรณีที่มีการย้ายข้าวสารจากโกดังกลาง ให้รายงานล่วงหน้า 1 วันก่อนขนย้าย ทั้งนี้หากโรงสีใดไม่สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จะต้องได้รับ ความเห็นชอบผ่อนผันจาก อคส. ก่อนและแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบด้วย
2. การแปรสภาพและการส่งมอบ โรงสีจะต้องแปรสภาพข้าวเปลือกที่ฝากเก็บไว้ ที่โรงสีและต้องส่งมอบข้าวสารเข้าเก็บในโกดังกลางของ อคส.
3. การเก็บรักษาข้าวสาร อคส.จะต้องจัดให้มีโกดังกลางที่จัดเก็บข้าวสาร อย่างเพียงพอ และกำกับดูแลการรับมอบการเก็บรักษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง รวมทั้ง จัดให้มีเซอร์เวเยอร์ที่ได้มาตรฐานทำการตรวจสอบก่อนเข้าเก็บในโกดังกลาง
4. การกำกับดูแล
4.1 จุดรับจำนำและจัดเก็บให้ อคส. และ ธ.ก.ส. ในฐานะหน่วยปฏิบัติเข้มงวดกวดขัน และวางระบบการตรวจสอบการรับจำนำให้สามารถป้องกันการรั่วไหลในการรับจำนำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน
4.2 จังหวัดให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัดกำกับดูแลแบบเบ็ดเสร็จ โดยอาจร่วมกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำกับดูแลในจังหวัด ในการรับจำนำ ปริมาณ และคุณภาพเป็นไปอย่างถูกต้อง รวมทั้งการป้องกันการสวมสิทธิ และปลอมปนข้าว เพื่อให้ประโยชน์ตกแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง
4.3 ส่วนกลาง ให้คณะอนุกรรมการบริหารและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2549/50 เป็นผู้วางระบบการกำกับดูแลและจัดการสุ่มตรวจการรับจำนำในจังหวัดต่างๆ
4.4 ฝ่ายเลขานุการ กนข. กรมการค้าภายใน จะกำหนดหลักเกณฑ์การวัดความชื้นข้าวเปลือกและสิ่งเจือปนให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรม และให้มีการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ข้อดี และข้อเสียของโครงการรับจำนำข้าว
ข้อดีของโครงการรับจำนำข้าว
- จากการประกาศจำนำราคาข้าวที่ 15,000 บาท ชาวนาจะได้รับเงิน 15,000 เลย (กรณีข้าวมีความชื้นที่ 15%) ซึ่งเป็นเงินสด
- ชาวนา มีข้าวเท่าไรก็ขายได้ตาม จำนวนผลผลิตที่ได้ เช่น หากทำนา มีข้าว 10 ตัน ก็ได้ทั้ง 10 ตัน เป็นเงิน 150,000 บาท
-ชาวนาจะได้รับเป็นเงินสดทันทีเมื่อขายข้าว
- จะทำให้ ราคาข้าวในท้องตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากถ้าพ่อค้าไม่รับซื้อ ในราคาสูงก็ไม่มีข้าวขายเพราะรัฐจะซื้อเองหมด
- รัฐบาลสามารถควบคุมราคาซื้อ-ขาย ข้าวได้ (ในการส่งออกและบริโภคภายในประเทศ)
ข้อเสียของโครงการรับจำนำข้าว
- จากอดีตที่ผ่านมามีการคอรัปชั่นสูง ทำให้รัฐต้องขาดทุนปีละหลายหมื่นล้าน
- รัฐอาจต้องสร้างโกดังไว้เก็บข้าวเอง จำนวนมาก
- เป็นการ บิดเบือนกลไกตลาดทำให้ รัฐต้องใช้เงินจำนวนมากไปซื้อข้าวซึ่งรัฐไม่น่าจะมีเงินมากมาซื้อข้าวชาวนาได้ทั้งหมดในกรณีที่พ่อค้าไม่รับซื้อข้าวแข่ง
- รัฐต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อยในการสต๊อกข้าวและรักษาคุณภาพข้าวจำนวนมากถ้าขายข้าวไม่ได้
- อาจมีข้าวจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์
5. สภาพปัญหา และสาเหตุที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว (เยาวลักษณ์ จิตต์วโรดม, 2548 หน้า 10 - 17)
ปัญหาที่พบกันอยู่เสมอแต่ไม่เคยมีใครคิดจะแก้ไขสักทีนั่นก็คือปัญหาพ่อค้าคนกลาง ราคา ที่พ่อค้าคนกลางได้รับจากเกษตรกรนั้นเป็นราคาที่ต่ำมากแต่กลับไปขายต่อได้ในราคาที่สูง ส่วนต่างจำนวนมากนี้ทำให้กำไรเกือบจะทั้งหมดตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างมาก ทั้งที่เกษตรกรต้องลำบากดูแลพืชผล แต่กลับได้ผลตอบแทนน้อยนิดจนบางครั้งเกือบจะขาดทุนด้วยซ้ำแต่พ่อค้าคนกลางซึ่งมีหน้าที่แค่รับซื้อและนำไปขายต่อกลับได้กำไรจำนวนมหาศาล ยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริง สวนมะม่วงขายมะม่วงน้ำดอกไม้ในราคากิโลกรัมละ 7 บาท จนถึงประมาณ 10 บาท แล้วแต่คุณภาพ แต่ราคาที่พ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อในตลาดนั้นคือกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 20 บาท ประมาณว่ามีกำไรกิโลกรัมละ 10 บาท ซึ่งถือว่าพ่อค้าคนกลางกำไรเท่าตัวเลยทีเดียว แม้รัฐบาลมีการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรหลายอย่าง แต่การประกันราคานั้นก็ไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้น ดังจะเห็นได้ จากเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ยังคงเป็นหนี้สินจนถึงปัจจุบัน แต่พ่อค้าคนกลาง เจ้าของโรงสี กลับมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ ดังจะเห็นได้จาก การส่งออกข้าวของไทยที่มีกำไรนับล้าน แต่เกษตรกรที่ปลูกข้าวอยู่ในประเทศไทยกลับมีหนี้สินเกือบแสน ทั้งนี้เนื่องจากราคาที่ประกันนั้นยังคงต่ำอยู่มาก ทำให้พ่อค้าคนกลาง เจ้าของโรงสี ผู้ประกอบการอื่นๆ นำไปขายในราคาที่แพงกว่าที่รับมามาก ทำให้ได้รับกำไรอย่างมหาศาล แต่หากราคาพืชผลเหล่านี้ยังคงต่ำอยู่ หรือถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบอยู่เช่นนี้ ก็หนีไม่พ้นที่เกษตรกรจะกลับไปกู้หนี้ยืมสินอีกครั้ง และรัฐบาลก็คงต้องตามแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 – 2546 พบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการโครงการการรับจำนำข้าวหรือมีลักษณะใกล้เคียงกับประเด็นของการศึกษาวิจัยครั้งนี้
ไพโรจน์ โพธิ์พฤกษาวงศ์ (2533) ได้ศึกษาเรื่องทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ รับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อโครงการ รับจำนำข้าวเปลือก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง ที่จำนำข้าวข้าวเปลือกในฤดูการผลิตปี 2530 – 2531 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมแล้ว เกษตรกรมีทัศนคติต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกอยู่ในระดับปานกลาง และการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ พบว่า อายุ การศึกษา การได้รับข่าวสาร ขนาดการถือครองที่ดิน รายได้ การเป็นลูกหนี้และการไม่เป็นลูกหนี้ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ส่วนสภาพการถือครองที่ดินไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
ปิยาณี เจริญศิริ (2546) ได้ศึกษาเรื่องความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก : กรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้ารับจำนำข้าวกับองค์กรการคลังสินค้าในโรงสีกิจทวียโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จากการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
ผลจากการศึกษาพบว่า ความแตกต่างของปัจจัยรายได้เฉลี่ยต่อปีและปริมาณข้าวที่รับจำนำ มีผลต่อความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนความแตกต่างของปัจจัยเกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน และผลผลิตข้าวต่อปี ไม่มีผลต่อความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น